สนามเด็กเล่น ปัน ปัน
สร้างสรรค์และออกแบบ ภายใต้แนวความคิด Brain Base Learning [BBL]*
ประกอบด้วยเครื่องเล่น หลากหลายชนิด ช่วยให้สมองสั่งการเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว และเคลื่อนที่ การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นนี้ก่อให้เกิดวงจรสมองที่มีประสิทธิภาพสูง
สำหรับนำไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งที่ยาก และทักษะที่ซับซ้อน ได้แก่ หลักภาษา และกระบวนการทางคณิตศาสตร์

สนามเด็กเล่นพัฒนาสมอง

ผลพลอยได้จากการได้เล่นเครื่องเล่นสนามนี้
– ร่างกายแข็งเกร่งทนทาน
– ร่างกายแข็งแรง โดยมีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น ทำให้ห่างไกลจากการเจ็บป่วย
– อัตราการเจริญเติบโตของร่างกายดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
– มีพัฒนาการสมดุล เด็กไม่เข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธ์ุเร็วกว่าปกติ ดังที่ปรากฎในปัจจุบัน
– พัฒนาการด้านอารมณ์ จิดใจดีขึ้นอย่างชัดเจน เนืองจากสมองได้ผลิตสารเคมีกระตุ้นสมอง ทำให้เกิดแรงจูงใจ (motivation) , สมาธิ (attention) ดีขึ้น เด็กสงบลง มีความพร้อมในการเรียนรู้สูงขึ้น เมื่อเด็กเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้เด็กเข้าสู่การนอนหลับที่ลึกเพียงพอ ส่งผลให้สมองจัดระบบข้อมูล ที่ได้รับมาระหว่างวันให้เกิดความจำระยะยาวระหว่างการนอนหลับ

ข้อมูล *เรื่องสนามเด็กเล่นตามแนวคิด BBL
ขอขอบคุณ อ.พรพิไล เลิศวิชา
ผอ.ณรงค์ชัย จินาวงค์

สนามเด็กเล่น BBL

แนวทางการจัดกระบวนการและสื่อการเรียนรู้แบบ BRAIN-BASE LEARNING
สำหรับโรงเรียน
1. จัดสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นความสนใจ กระตุ้นการเรียนรู้ เช่น อุปกรณ์ที่มีสี รูปทรง สถาปัตยกรรม สิ่งที่ผู้เรียนออกแบบกันเอง(ไม่ใช่ครูออกแบบให้) เพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกมีส่วนร่วมและมีความเป็นเจ้าของ
2. สถานที่สำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มร่วมกัน เช่นที่ว่าง ๆ สำหรับกลุ่มเล็ก ซุ้มไม้
โต๊ะหินอ่อนใต้ต้นไม้ ปรับที่ว่างเป็นห้องนั่งเล่นที่กระตุ้นการมีปฏิสัมพันธ์ จัดสถานที่ที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เป็นกลุ่ม
3. จัดให้มีการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน มีการเคลื่อนไหวกระตุ้นสมองส่วนควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อกับสมองส่วนหน้า ให้สมองได้รับอากาศบริสุทธิ์
4. ทุกส่วนของโรงเรียนจัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้เรียนที่ไหนก็ได้ เช่น บริเวณเฉลียง ทางเชื่อมระหว่างตึก สถานที่สาธารณะ
5. เฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะชุมชนเมือง
6. จัดสถานที่หลากหลายที่มีรูปทรง สี แสง ช่อง รู
7. เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมบ่อย ๆ เพื่อให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างหลากหลายจะกระตุ้นการทำงานของสมอง เช่น เวทีจัดนิทรรศการซึ่งควรเปลี่ยนแปลงเป็นรูปแบบต่าง ๆ
8. จัดให้มีวัสดุต่าง ๆ ที่กระตุ้นการเรียนรู้ พัฒนาการต่าง ๆของร่างกาย มากมายหลากหลายและสามารถนำมาจัดทำสื่อประกอบการเรียนรู้ที่มีความคิดใหม่ ๆ โดยมีลักษณะบูรณาการไม่แยกส่วนจุดมุ่งหมายหลักคือ เป็นวัสดุที่ทำหน้าที่หลากหลาย
9. กระบวนการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น เหมาะสมกับสมองของแต่ละคนและสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป
10. จัดให้มีสถานที่สงบและสถานที่สำหรับทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
11. จัดให้มีที่ส่วนตัว เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของตน จัดสถานที่ส่วนตัวของตน และสามารถแสดงความคิด สร้างสรรค์ของตนได้อย่างอิสระ
12. ต้องหาวิธีที่จะให้ชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้มากที่สุด สนามเด็กเล่นในชุมชน แหล่งเรียนรู้ในชุมชนและทำให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต นำเทคโนโลยี

SHARE IT: